Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43

Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43
ฟาร์มาซี โฟกัส แสงแดดกับผิวหนัง Sunlight_on_the_skin
หน้าแรก
บทความ








แสงแดดกับผิวหนัง









แสงจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีต่างๆ มากมาย เท่าที่มนุษย์ตรวจพบ แบ่งประเภทออกมาได้ เป็นรังสีคอสมิก แกมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต อินฟาเรด รังสีที่มองเห็นได้และคลื่นวิทยุโทรทัศน์ รังสีเหล่านี้เราแบ่งประเภทได้โดยใช้ ขนาดคลื่นของมันเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะวัดได้โดยใช้เครื่องวัดขนาดคลื่น ประมาณ 1 ใน 3 ของแสงแดดจะถูกดูดซับโดย น้ำ อากาศ โอโซน และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก คลื่นรังสีที่มีความสำคัญเกี่ยวพันกับผิวหนังของเรา คือ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) รังสีที่มองเห็นได้ (Visible light) และรังสีอินฟาเรด (Infrared)
















รังสีอัลตราไวโอเลต แบ่งตามช่วงคลื่น เป็น


 


ยูวีเอ (UV-A) เป็นรังสีคลื่นยาว 320-400 nm ทะลุผ่านกระจกได้ จะผ่านผิวหนังชั้นบนเข้าในผิวหนังชั้นลึกลงไปได้ ทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว(Immediate tanning) ถ้ามากอาจกระตุ้นให้ผิวสร้าง Melanin ขึ้นใหม่ได้ แม้UV-Aจะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้ผิวแก่เหี่ยวย่น และเป็นมะเร็ง แต่การโดนซ้ำๆบ่อยๆ ก็ทำให้มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน


ยูวีบี (UV-B) เป็นรังสีคลื่นสั้น ขนาด 290-320 nm ไม่ทะลุผ่านกระจก จะถูกดูดซับบนผิวชั้นบน ทำให้ผิวสีน้ำตาลช้าๆ(Delay tanning)แต่จะทำให้ผิวอักเสบ แดง ระคายเคือง UV-Aเป็นตัวการหลักทำให้เกิดมะเร็ง และผิวหนังแก่เหี่ยวย่น ถ้าโดนบ่อย


ยูวีซี (UV-C) จัดเป็นรังสีคลื่นสั้นเช่นกัน ขนาด 200-290 nm ปกติไม่พบในโลก เนื่องจากถูกโอโซนในบรรยากาศดูดซับไว้หมด


 


ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 9.00 - 15.00 น. เพราะมีรังสีอัลตร้าไวโอเลตสูงมากกว่า ช่วงเวลาอื่นๆ *(nm = nanometer)



การป้องกันแดด


 


1. การป้องกันตามธรรมชาติ ผิวจะมีการป้องกันตามธรรมขาติอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะผิวของแต่


ละคนแต่ละพันธุกรรมและแต่ละเผ่าพันธ์เชื้อชาติ


2. การป้องกัน โดยการใช้สารกันแดด มี 2 ชนิด คือ


 


2.1 Chemical or absortion sunscreen คือการป้องกันโดยใช้สารกันแดดซึ่งอาจอยู่ในรูปของ ครีม โลชั่น


สเปรย์ แล้วทาบนผิวหนัง สารกันแดดเหล่านี้เป็นสารเคมีถูกดูดซับไปในผิวหนังชั้นบน แล้วทำหน้าที่ดูดซับ รังสีไม่ให้ผ่านลงไปในผิวหนังชั้นใน สารเหล่านี้มี


ข้อดี คือ ราคาถูก และ เมื่ออยู่ในรูปครีม โลชั่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์ดูเนื้อดี เมื่อทาก็จะดูดซึมเข้าในผิว ไม่เห็นร่องรอย


ข้อเสีย ของสารเหล่านี้ คือ อาจทำให้แพ้ได้ง่าย


 


2.2 Reflecting Sunblock or Physical Sunblock คือการป้องกันแดด โดยใช้สารทึบแสงจากธรรมชาติ ในรูป


ครีม หรือ โลชั่น ไม่ดูดซึมเข้าผิว ป้องกันรังสีโดยการสะท้อนรังสีออกไป สารเหล่านี้ได้แก่ Titanium dioxide และ Zinc Oxide


ข้อดี ของสารเหล่านี้ คือ ไม่ดูดซึมเข้าในผิว จึงไม่เกิดอาการแพ้ ใช้ได้แม้บริเวณผิวอ่อนหรือผิวเด็กเล็ก  เป็นสารจากธรรมชาติและยังป้องกันแดดในช่วงคลื่นต่างๆ ได้กว้างกว่าแบบเคมี


ข้อเสีย คือ ราคาแพงกว่า, เมื่อทาบนผิว อาจขาวหรือดูเงา ๆ เนื้อครีมอาจเหนอะหนะกว่า



การหาค่าประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด


 


เพื่อเป็นการเปรียบเทียบค่าของการกันแดดของผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ละตำรับ นักวิทยาศาสตร์จึงได้หาวิธีคำนวณค่าประสิทธิภาพขอผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งเรียกว่า ค่า SPF = Sun Protecting Factor


SPF หมายถึง อัตราส่วน ของ MED ของผิวหนังที่ทาผลิตภัณฑ์กันแดดและ MED ของผิวหนังที่ไม่ได้ทา


ค่า MED (Minimal Erythrema Dose) คือ ขนาด(เวลา) ที่ทำให้เกิดผิวแดงอักเสบ หรือความปกติที่ผิวหนัง


ดังนั้น ค่า SPF คือ อัตราส่วนของ เวลาที่ทำให้เกิดผิวแดงเมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดนั้น กับ เวลา ที่ทำ


ให้ผิวหนังที่ไม่ได้ทา (ผิวตามธรรมชาติ) เกิดผิวแดง ณ การปล่อยให้ผิวตากแดด ณ ที่เดียวกัน


สรุป ให้ง่าย ค่า SPF คือ จำนวนเท่าของเวลาในการป้องกันแดด เมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นๆว่าเป็น


กี่เท่าของเวลาการป้องกันแดดโดยธรรมชาติของผิว


 















ผลิตภัณฑ์กันแดด ประกอบด้วยอะไร


ก. สารกันแดด



1.Chemical




คือ สารเคมีที่ใช้ป้องกันแดดโดยการดูดซับรังสี UV-A สารเคมีแต่ละตัวจะให้ผลในการดูดซับรังสีได้


ในช่วงคลื่น แตกต่างกัน ในผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ละชนิดจึงต้องมีสารกันแดดหลายตัวผสมกันเพื่อให้มีความสามารถในการดูดซับแสง ช่วงคลื่นที่กว้างขวาง (Broad spectrum) สารเคมีที่ใช้มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ


1.1 PABA Group


กลุ่มพาบา ดูดซับรังสีคลื่นสั้นได้ดี ที่นิยมใช้มี Octyl dimethyl PABA (Padimate O) สารกันแดด


กลุ่มนี้นิยมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากดูดซับแสงได้ดี มีอาการแพ้น้อยเมื่อเปรียบกับสารตัวอื่นๆ แต่มีสารในกลุ่มนี้ตัวหนึ่ง ซึ่งเคยนิยมใช้เมื่อ 30 ปีก่อน แล้วปรากฏภายหลังพบว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง สารตัวนี้ชื่อ Padimate A ซึ่งได้ถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2530 ส่วน Padimate O พบว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Padimate A เลย จึงยังเป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน


1.2 Non-PABA คือ กลุ่มที่ไม่ใช่พาบามีหลายกลุ่มคือ


Bensophenone ดูดซับ UV คลื่นสั้นและยาว


Cinnamates ดูดซับ UV คลื่นสั้น


Antranilate ดูดซับ UV คลื่นสั้น


Homosalate ดูดซับ UV คลื่นสั้นและยาว


กลุ่ม Non-PABA นี้จะก่อให้เกิดอาการแพ้มากกว่ากลุ่ม PABA ระดับความเสี่ยงต่อการแพ้ เรียงตามกลุ่มข้างต้นจากน้อยมาหามาก


การจัดตำรับผลิตภัณฑ์กันแดด ต้องใช้สารกันแดดหลายตัวผสมกัน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งป้องกันรังสีครอบคลุมทุกชนิด และเพื่อเป็นลดอัตราการแพ้



2.Physical or Natural Sunblock




คือ สารกายภาพ หรือ สารธรรมชาติ มีดังนี้


2.1 Titanium dioxide เป็นสารทึบแสง ได้จากธรรมชาติ ถือเป็นดินหรือแร่ชนิดหนึ่ง สามารถป้องกัน


รังสีคลื่นสั้นได้ดีและยังสามารถป้องกันรังสีคลื่นยาวได้อีกระดับหนึ่ง


2.2 Zinc oxide เป็นสารทึบแสงได้จากธรรมชาติเช่นกัน มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ป้องกันรังสีคลื่นยาวได้ดี


ผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งใช้สารทั้งสองเป็นสารกันแดด จะไม่ดูดซับแสงแต่จะสะท้อนรังสีทั้งหมดออกไป จึงทำให้ไม่เกิดอาการแพ้ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนิยมใช้ Titanium oxide ตัวเดียว เนื่องจากการใช้ Zinc oxide ร่วมในตำรับทำให้จัดตำรับผลิตภัณฑ์ยากลำบากขึ้น และครีมซึ่งมี Zinc oxide เมื่อทาแล้วผิวอาจขึ้นขาววาวๆได้


 



ข. รองพื้น (Base)


 


เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์กันแดดมีผลอย่างมากต่อค่าSPF และต้องอยู่ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสะดวกใช้ ที่นิยมคือเป็น ครีม โลชั่น สปรย์ หรือ โลชั่นใส แต่ในหลักการต้องให้มีคุณสมบัติ ดังนี้


¨ เนื้อผลิตภัณฑ์ต้องดูดี น่าใช้


¨ เกลี่ย ทา ง่าย


¨ ติดผิวแน่น ทนต่อการถูกน้ำ เหงื่อ ล้างออก คุณสมบัติข้อนี้มีความสำคัญมากต่อค่า SPF ของผลิตภัณฑ์


 












ข้อเปรียบเทียบของสารกันแดด 2 กลุ่ม


























สารกันแดดเคมี



สารกันแดดกายภาพ



1. กลไกดูดซับรังสีไว้ที่โมเลกุลของสารซึ่งทาอยู่บนผิวหนัง



1. กลไกสะท้อนและกระจายรังสีทุกชนิดออกจากผิวหนังทันทีที่ตกกระทบอนุภาคของไทเทเนียมไดออกไซค์และซิงค์ออกไซค์



2. กันแดดช่วงคลื่นสั้นกว่า 280 - 365 นาโนเมตร



2. กันแดดช่วงคลื่นยาวกว่า 260 - 700 นาโนเมตร



3. มีผลสะสมที่ผิวหนัง โอกาสเกิดการแพ้ระคายเคืองได้ง่ายกว่า



3. ปลอดภัยสูงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ระคายเคืองใช้ในเด็กเล็กได้ ล้างออกได้ง่าย



4. สลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนหรือรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง



4. ผงแป้งละเอียดมาก พื้นที่ผิวรอบอนุภาคมีมากทำให้สะท้อนและกระจายรังสีได้ดี ช่วยปกปิดรูขุมขนได้ดีมีความคงตัวสูง ไม่ถูกทำลายโดยรังสีความร้อนหรือรังสีจากดวงอาทิตย์



















วิธีทาครีมกันแดด


1. ควรทาครีมกันแดด ทาทิ้งไว้ที่ผิวหนัง ประมาณ 15 - 20 นาที ก่อนออกไปตากแดด


2. ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป


3. เลือดครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพกันแดดได้ผลดี ปลอดภัยสูง ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ระคายเคือ



 









 


©2010 บริษัท ฟาร์มาเนท จำกัด เลขที่ 32-32/1 ถนน สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
โทร : 02-260-2443-4 แฟกซ์ : 02-260-2445 Email : service@pharmanet.co.th
line id pharmanet