Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43

Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43
ฟาร์มาซี โฟกัส ท้องผูก ( Constipation ) Constipation
หน้าแรก
บทความ








ท้องผูก ( Constipation )












เป็นอาการผิดปกติที่ไม่ใช่โรค และจะถือว่า ท้องผูกก็ต่อเมื่อมีอาการอย่างน้อย 2 อาการ จากอาการทั้งหมด


ภายในช่วงทุก 12 สัปดาห์ ของรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาคือ


 



1. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์


2. ถ่ายอุจจาระแห้ง-แข็ง มากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่ถ่าย


3. รู้สึกว่าถ่ายไม่สุดมากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่ถ่าย


4. ต้องใช้แรงแบ่งอย่างมาก มากกว่า 25% ของจำนวนครั้งที่ถ่าย


5. ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ


 
















สาเหตุของท้องผูก แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ


1. เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้


2. เกิดจากความผิดปกติของโครางสร้างและการทำงานของร่างกาย


 








































ความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ จะมีความเชื่อมโยงกับ


1. ได้รับสารอาหารจำเป็นไม่เพียงพอ



  • กินใยอาหารน้อย (< 25 gm / วัน)


  • ดื่มน้ำน้อย (< 1ลิตร / วัน)



2. การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ



  • ลำไส้บีบตัวน้อย


  • อาหารเคลื่อนตัวช้า


  • โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)


  • ยา


  • ความผิดปกติของระบบประสาท



3. ภาวะผิดปกติทางจิต



  • โรคจิตซึมเศร้า


  • เพศสัมพันธ์ผิดปกติ


  • ความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับอาหารและทางเดินอาหาร




ความผิดปกติจากโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย


1. กระดูกเชิงกรานผิดปกติ


2. กล้ามเนื้อหูรูดผิดปกติ


3. ไส้เลื่อน


4. ลำไส้ยื่นย้อยเข้าไปในอวัยวะใกล้เคียงหรือยื่นออกมานอกทวารหนัก










ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องผูก


1. การขาดสารอาหารจำเป็น (น้ำ-ใยอาหาร)


2. การจำกัดการเคลื่อนไหว (ขาดการออกกำลังกาย)


3. การกลั้นอุจจาระ


4. การเดินทาง


5. ผลกระทบจาก ยาต่าง ๆ


6. การใช้ยาระบายไม่เหมาะสม


7. การตั้งครรภ์ในระยะสุดท้าย


 



 



กลุ่มยาที่ทำให้ท้องผูก


1. ยาแก้แพ้ (Antihistamine)


2. ยาแก้ปวดต้านอักเสบ (NSAIDs)


3. ยาลดกรด (Antacid)


4. ยารักษาโรคลมชัก (Anticonvulsant)


5. ยารักษาโรคจิตซึมเศร้า (Antidepressant)


6. ยาลดความดันโลหิตสูง


7. ยาขับปัสสาวะ


8. ธาตุเหล็ก


9. กลุ่มยาที่เข้าฝิ่น


10. ยาคลายการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ


11. ยารักษาโรคประสาท


 




Graded treatment of constipation: ขั้นตอนการรักษาอาการท้องผูก


 


 



















Change lifestyle and diet


ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตและการกิน


|



Stop medications which cause constipation


หยุดยาที่มีผลทำให้ท้องผูก


|



Bulk – forming agents


สารเพิ่มมวลอุจจาระ


|



Osmotic laxatives


สารดูดน้ำ


|



















--------------


|



-----------------------


|



---------------


|



Contact laxatives


สารกระตุ้นการบีบตัว


ของลำไส้



Enema


ยาสวน



Prokinetics


ยาควบคุมการทำงาน


ของทางเดินอาหาร


 




ยาระบาย หรือยาถ่ายที่ใช้รักษาอาการท้องผูก (Laxative Purgative)


1.การอุ้มน้ำ เพิ่มมวลอุจจาระ (Bulk forming laxatives)


เป็นสารพวกใยอาหารที่จะอุ้มน้ำ เพิ่มมวลให้อุจจาระและทำให้อุจจาระนิ่ม มีระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ 24-72 ชั่วโมง ทำให้ถ่ายคล้ายธรรมชาติ ปลอดภัย แต่อาจทำให้เกิด


1. ท้องอืดเนื่องจากมี Gas มาก


2. อุดตันลำไส้เพราะดื่มกับน้ำปริมาณน้อยเกิดไป


เช่น



  • Ispaghula husk


  • Plantago seed


  • Psyllium hydrophilic


  • Mucilloid




2. สารหล่อลื่น (Lubricant laxatives)


เป็นสารหล่อลื่นที่ไม่ดูดซึม ช่วยหล่อลื่นอุจจาระทำให้ถ่ายได้ง่าย ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ 8 ชั่วโมง ปลอดภัย ใช้กับคนท้องได้ เช่น



  • Liquid paraffin




3. ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (Stimulant laxatives)


จะออกฤทธิ์กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ 8-12 ชั่วโมง มักจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย และเกิดการถ่ายมากกว่า 1 ครั้ง เช่น



  • Bisacodyl


  • Sennoside B


  • Macrogol 4000


  • Bile salt


  • Cascara


  • Phenolphthalein* ไม่ควรใช้เพราะเชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็ง




4. สารที่ดูดน้ำเข้าหาตัว (Osmotic laxatives)


ออกฤทธิ์ดึงน้ำไว้ในลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัว เช่น



  • NaCI


  • Na phosphate


  • Lactulose


  • Lactitol




5. ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม (Stool softener)


Action : ออกฤทธิ์ช่วยลดแรงตึงของผิวอุจจาระ ทำให้น้ำและไขมันไม่ซึมเข้าได้ง่าย อุจจาระนิ่มลง


Note : ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Stool softener


1. ใช้เป็นยาระบาย บรรเทาอาการท้องผูก เช่น



  • Docusate




คำแนะนำ


1. ต้องรู้สภาวะปกติของร่างกาย ไม่ใช้ยาระบายโดยไม่จำเป็น


2. ทานอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่มากพอ


3. ดื่มน้ำให้มากพอ


4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ


5. จัดเวลาการเข้าส้วมให้เหมาะสมไม่มีสิ่งรบกวน


6. ห้ามกลั้นเมื่อปวดถ่าย




 


©2010 บริษัท ฟาร์มาเนท จำกัด เลขที่ 32-32/1 ถนน สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
โทร : 02-260-2443-4 แฟกซ์ : 02-260-2445 Email : service@pharmanet.co.th
line id pharmanet