Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43

Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43
ฟาร์มาซี โฟกัส รายชื่อยาที่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนด List_of_medications_that_are_required_to_maintain_a_given_temperature
หน้าแรก
บทความ









































รายชื่อยาที่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนด


(จากเอกสารประกอบการประชุมสัมมนา คณะผู้เยี่ยมสำรวจ ครั้งที่ 1/2547 วันที่ 12 พฤษภาคม 2547)


ยาแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน การเก็บรักษาที่ดีให้เหมาะกับคุณสมบัติของยานั้น ๆ จะช่วยให้ยาคงสภาพ และมีคุณภาพอยู่ได้นาน โดยส่วนใหญ่บริษัทจะระบุวิธีการเก็บรักษาหรืออุณหภูมิที่ควรเก็บไว้ข้างภาชนะบรรจุ ได้แก่



· อุณหภูมิแช่แข็ง (freeze) เช่น -20°C ถึง -10°C


· อุณหภูมิเย็นจัด หรือเก็บในตู้เย็น (cold store หรือ in refrigerator ช่วง 2 – 8°C)


· อุณหภูมิเย็น (cool place) ช่วง 8-15°C


· ห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (controlled room temperature)ช่วง 20-25°C


ยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น


· วัคซีน


· อินสุลิน


· ยาหยอดตาที่มี pilocarpine, chloramphenicol


· ยาเหน็บทวาร (บางรายการ)


· ยาฉีดกลุ่ม ergot


· ยาปฏิชีวนะชนิดผงเติมน้ำที่ผสมแล้ว (เก็บในตู้เย็นและใช้ภายใน 7 วัน)


· ฯลฯ


ยาที่ต้องเก็บในที่เย็น


· ฟอร์มัลดีไฮด์


· ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์


· ยาครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์และกรดซาลิซีลิก


· ฯลฯ


ในทางปฏิบัติอาจเก็บยาที่ระบุว่าต้องเก็บในที่เย็น (in cool place) นี้ไว้ในตู้เย็น เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยสูงกว่า 15°C


ยาที่ต้องเก็บพ้นแสง และควรจ่ายใส่ซองทึบแสง


· Furosemide tab


· Carbidopa


· วิตามินบี 1-6-12


· วิตามินซี


· ยาฉีดหลายชนิด เช่น กลุ่ม เตตร้าซัยคลิน, คลอเฟนนิรามิน, เมตโตคลอฟาไมด์, เด็กซ่าฮอร์โมน, ยาต้านมะเร็งชนิดฉีด


· Paraldehyde – ต้องเก็บในที่มืดสนิท



สำหรับยาหยอดตา อาจปิดฉลากกำกับเพิ่มเติม “ทิ้งหลังจากเปิดใช้แล้ว 4 สัปดาห์” และมีฉลากเสริม “เปิดใช้วันที่...” ส่วนยาล้างตาควรมีฉลากบอกว่า “เปิดขวดแล้วให้ใช้ได้ไม่เกิน 7 วัน”  ยาปฏิชีวนะผสมน้ำ ควรปิดฉลาก “ไม่ควรใช้ยานี้เกิน 7 วันหลังเปิดใช้” หรือ “ทิ้งหลังจากเปิดใช้แล้ว 7 วัน”


การเตรียมยาหรือผสมยาแบ่งบรรจุ ให้กำหนด beyond – use date ไม่เกินระยะที่คาดว่าจะใช้รักษาหรือ 30 วัน ยกเว้นในสูตรตำรับเฉพาะที่มีข้อจำกัดในการเก็บรักษามักจะกำหนดอายุของยาที่สั้นกว่า เช่น ไม่เกิน 14 วัน ในบางตำรับอาจกำหนดวันหมดอายุที่นานขึ้นได้โดยต้องมีข้อมูลด้านความคงตัวที่น่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับยาเตรียมที่เฉพาะเจาะจงนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดไว้ไม่เกินกว่า 6 เดือน


 


ยาที่จ่ายออกไป... หมดอายุเมื่อใด



     ยาที่จ่ายในภาชนะบรรจุเริ่มต้นจากบริษัทผู้ผลิต สามารถคาดได้ว่าวันหมดอายุใกล้เคียงกับที่กำหนดในฉลากยาของบริษัทฯ เภสัชกรชุมชนจึงเพียงแต่แนะนำให้ผู้ป่วยเก็บยาในสภาวะที่แนะนำและจ่ายยาแต่ละครั้งเพียงพอต่อการใช้ ไม่ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกักตุนยาไว้ เพราะการเก็บที่บ้านอาจมีสภาพไม่เหมาะสม ที่อาจมีผลให้ยาเสื่อมสภาพและหมดอายุเร็วกว่าที่กำหนด ข้อแนะนำให้ผู้ป่วยดูวันหมดอายุที่กำหนดจากบริษัทผู้ผลิต ให้ดูที่คำว่า ยาสิ้นอายุ, Expired Date, Expiration Date, Exp., Used Before เป็นต้น ถ้าไม่มีการกำหนดวันหมดอายุไว้ให้ดูที่วันผลิตตรงคำว่า Mfg., ผลิตเมื่อ,.... เป็นต้น สำหรับยาเม็ดหรือยาแคปซูลจะให้พิจารณาที่ 3-5 ปี จากวันผลิตเป็นวันหมดอายุ ยาน้ำกำหนดที่ 2-3 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ยาตามีอายุประมาณ 1 ปีครึ่งจากวันที่ผลิต สำหรับวันหมดอายุที่ระบุไว้ในรูป “เดือน/ปี” ให้หมายถึงวันสุดท้ายของเดือนที่กำหนด ตามหลักวิชาการ วันหมดอายุที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตนี้ ไม่สามารถนำไปใช้กับยาหรือผลิตภัณฑ์ที่แบ่งบรรจุในภาชนะบรรจุที่ต่างไปจากเดิมนั่นคือ เมื่อเปิดภาชนะบรรจุ สภาพของยาจะต่างไป ความคงตัวและประสิทธิภาพจะลดลงตามสภาวะการเก็บรักษาและเวลาที่เปิดใช้เมื่อต้องแบ่งยาจ่ายออกไป เภสัชกรจึงควรกำหนด beyond – use date คือ วันที่ไม่ควรใช้ยานั้นอีกต่อไป ซึ่ง beyond – use date บนฉลากที่ติดบนขวดหรือซองยาแบ่งจ่ายนั้นจะต้องไม่เป็นวันหลังจากวันหมดอายุของยาที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต แต่ไม่เกิน 1 ปี หลังจากแบ่งจากขวดเดิม


ข้อความที่อาจใช้สำหรับ beyond – use date บนซองยาหรือขวดยาแบ่งจ่ายอาจใช้คำว่า “วันหมดอายุ” “ทิ้งยาที่ไม่ใช้แล้วในวันที่” หรือ “ห้ามใช้ยาหลังจากวันที่....” โดยให้ใช้คำที่ทำให้ผู้ป่วยสับสนน้อยที่สุด



 





 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 



 


©2010 บริษัท ฟาร์มาเนท จำกัด เลขที่ 32-32/1 ถนน สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
โทร : 02-260-2443-4 แฟกซ์ : 02-260-2445 Email : service@pharmanet.co.th
line id pharmanet