Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43

Deprecated: Function get_magic_quotes_gpc() is deprecated in /var/www/vhosts/pharmanet.co.th/httpdocs/libraries/functions.inc.php on line 43
ฟาร์มาซี โฟกัส ความดันโลหิตสูง (Hypertension) Hypertension
หน้าแรก
บทความ









ความดันโลหิตสูง (Hypertension)




 










ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเป็นระบบวงจรปิด (Closed system) ที่มีหัวใจ (Heart) เปิดศูนย์กลางทำหน้าที่สูบฉีดเลือด (Blood) ผ่านหลอดเลือด (Blood vessel) เพื่อลำเลียง Oxygen สารอาหาร (Nutrients) Hormones และสารอื่น ๆ ไปยัง Cells ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แล้วรับเอา Carbondioxide และของเสียอื่น ๆ กลับจาก Cells















การบีบตัวของหัวใจเพื่อดันให้เลือดไหลผ่านเส้นเลือด จะเกิดมีแรงต้านของหลอดเลือดต่อการไหลของเลือด เรียกว่าความดันโลหิต (Blood pressure) ซึ่งมี 2 ค่าดังนี้


1. ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic blood pressure) มีค่าสูงเป็นค่าที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว


2. ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic blood pressure) มีค่าต่ำกว่า เพราะเป็นค่าที่เกิดขึ้นในขณะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว


 















หน่วยวัดความดันโลหิตใช้เป็น มิลลิเมตรปรอท (mm.Hg) โดยมีการแบ่งประเภทของความดันโลหิตตามกำหนดของ (JNC VI I) Seventh report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure.






































ประเภทของความดัน



ความดันโลหิตตัวบน


Systolic (mm Hg.)



ความดันโลหิตตัวล่าง


Diastolic (mm Hg.)



ปกติ Normal



<120



<80



มีแนวโน้มเป็นควมดันโลหิตสูง


(Prehypertension)



120 - 139



80 - 90



ความดันโลหิตสูง Hypertension



 



 



ขั้นที่ 1 Stage 1



140 - 159



90 - 99



ขั้นที่ 2 Stage 2



>160



>100


 

















 


ความดันโลหิตสูง (High blood pressure หรือ Hypertension)


คือภาวะที่หลอดเลือดมีแรงต้านต่อการไหลของเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่(มากกว่า 90 %) แล้วจะไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร (Essential or Primary Hypertension)



อาการ


ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุที่มีความรุนแรงน้อยหรือปานกลางมักจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ แต่ในบางรายอาจมีการแสดง อาการที่พบได้บ่อย คือ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย และหากผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงมานานโดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะมีอาการแสดงที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น อาการภาวะหัวใจวาย เจ็บหน้าอก ภาวะไตวาย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุแน่ชัดมักจะมีอาการแสดง ซึ่งแตกต่างกันตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง



 


การรักษา


การรักษาความดันโลหิตสูง มีแนวทางของการรักษาจำแนกตามชนิดของความดันโลหิตสูง คือ


1. ความดันเลือดสูงที่ทราบสาเหตุ


ความดันโลหิตสูงชนิดนี้ให้การรักษาโดยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น การทำการผ่าตัด หรือการ


หยุดใช้ยาที่เป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อกำจัดต้นเหตุได้แล้วความดันเลือดก็จะกลับสู่ระดับปกติ ยกเว้นในบางกรณี


2. ความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุ


ความดันโลหิตสูงชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุนี้พบได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเป็นส่วนใหญ่เป้าหมาย ของการรักษาคือ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและการตาย (morbidity และ mortality) ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะ


ความดันโลหิตสูง เช่น stroke, coronary heart disease, congestive heart failure, renal dysfunction เป็นต้น


การรักษาความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น 2 หลักใหญ่ ๆ คือ


1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา


- การควบคุมน้ำหนัก การจำกัดอาหารและการออกกำลังกาย


- การจำกัดปริมาณเกลือ ให้น้อยกว่า 2 gm/ วัน


- การเสริมด้วยแร่ธาตุ เช่น Calcium, Magnesium และ Fish oil


2. การรักษาโดยการใช้ยา


ยาหลักที่เป็นยาลดความดันโลหิตสูง คือยาในกลุ่ม A B C D


- A คือ ACEI,ARB


- B คือ Beta-blockers


- C คือ Calcium Channel Blocker


- D คือ Diuretic


ยาในกลุ่มรอง หมายถึงนำมาใช้ลดความดันโลหิตสูงในบางกรณี ได้แก่


- Alpha-blocker


- Central acting


- Direct vasodilator




 







 





 


 


 




 


©2010 บริษัท ฟาร์มาเนท จำกัด เลขที่ 32-32/1 ถนน สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม 10110
โทร : 02-260-2443-4 แฟกซ์ : 02-260-2445 Email : service@pharmanet.co.th
line id pharmanet